ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
โครงสร้างองค์กร
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
งานกิจการสภา อบต.กระออม1
การป้องกันการทุจจริต/ความโปร่งใส
ร้องทุกข์ร้องเรียน
กองคลัง
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ อบต.
งานบริหารบุคคล

ข้อมูล ITA
สายตรงผู้บริหาร
กฎหมายน่ารู้
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์บริการ
การให้ข้อมูลตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
สแกนคิวอาโค้ด (ภดส.3)
พลังงานแสงอาทิตย์
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
กระดานสนทนา
ชมรมกีฬา


  หน้าแรก     กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน 

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน  

กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้     
        กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด  
        กฎหมายอาญา จึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย 

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล

        บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย 
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล  
        การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  
        1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด  
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล  
                1. ชื่อตัว – ชื่อสกุล  
                2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ  
                3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล  
                4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า  
        2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น

ทรัพย์และทรัพย์สิน

        ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง  
        ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)  
        ประเภทของทรัพย์สิน  
                1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้  
                2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

นิติกรรม

        นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์  หลักการทำนิติกรรม  
        1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  
        2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ  
        3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย  

        นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ  
        1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย  
        2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ

สัญญาต่างๆ และประเภทของสัญญา

        สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ  
        1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย  
        2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย  
        3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว  

        สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ  
        1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน  
        2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ  
        3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด  
        4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ  
                – ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้  
                – ผู้ทอดตลาด  
                – ผู้สู้ราคา  
                – ผู้ซื้อ  

        สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น  
        1. สัญญาเช่าทรัพย์  
                – ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ 
                – ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ  
        2. สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย  

        สัญญากู้ยืมเงิน  
      เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย  การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

        การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง  
        การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต  
        ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น  
                1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส  
                2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส  
        การสิ้นสุดการสมรส  
                1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ  
                2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม  
                3. การหย่า  

        – สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร  
        – สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน 

กฎหมายเรื่องมรดก

        มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย  
        ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท  
                1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท  
                2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้  
        พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

        1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
                สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
                เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
                หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
        2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
        3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์  
                – เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน  
                – เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.  
                – เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
        4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน  
                – บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่   7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี และนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (7 เมษายน) นั้น ล่าสุด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ตามที่วุฒิสภาแก้ไขด้วยคะแนนเสียง 304 ต่อ 2 
                – การเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น  
                – บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน  
                – บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป
        5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร  
                – ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน  
                – เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด  
                *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
        6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
                – พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น  
                – พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
                – พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522

รวมลิงค์ต่างๆ
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 2930 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 29 เมษายน 2567
การให้บริการ
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 8 คน
หมายเลข IP 3.21.231.245
คุณเข้าชมลำดับที่ 858,804

แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการประชาชน
เฟสบุ๊ค อบต.
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
วารสารประชาสัมพันธ์
ข้อมูลสถิติการให้บริการ
ภูมิปัญญา         
 
องค์การบริหารส่วนตำบลกระออม
อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 32170
Tel : 081-1854646
Email : kraomja@gmail.com
Copyright © 2023 by OPSTECH All Right Reserved. 
ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์